การทำนา

All posts in the การทำนา category

การจัดการน้ำในนาข้าว

Published มกราคม 19, 2012 by nathpop

การจัดการน้ำในนาข้าว

 

        – รักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับอายุข้าว

           * ระยะกล้า 5 เซนติเมตร.

           * ระยะแตกกอ 5 – 10 เซนติเมตร

           * ระยะตั้งท้อง-ออกดอก 10 เซนติเมตร

        – ระบายน้ำก่อนเก็บเกี่ยว

           * นาดินเหนียว 10 – 14 วัน

           * นาดินทราย 7 วัน

ที่มา  http://www.brrd.in.th

การควบคุมวัชพืช

Published มกราคม 19, 2012 by nathpop

การควบคุมวัชพืช

 

        – ใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชให้ถูกต้อง

           * ถูกกับชนิดของวัชพืช (ใบแคบ ใบกว้าง กก )

           * ถูกกับเวลาที่ใช้แล้วได้ผลดี (โดยนับจาก วันหว่านข้าว)

           * ถูกอัตราที่สารนั้นกำหนด

        – เปิดน้ำเข้านาหลังพ่นสารเคมี 3 วัน

        – รักษาระดับน้ำ 5 – 10 เซนติเมตร หลังกำจัดวัชพืช เพื่อป้องกันวัชพืชงอกอีกครั้ง

 

ที่มา http://www.brrd.in.th

 

การควบคุมหอยเชอรี่

Published มกราคม 19, 2012 by nathpop

การควบคุมหอยเชอรี่

 

        – ปล่อยเป็ดกินช่วงเตรียมแปลง และใช้ตาข่ายดักจับขณะสูบน้ำเข้านา

        – ใช้สารเคมีขณะหมักเทือกก่อนหว่านข้าว

         * นิโคซามาย 50 กรัมต่อไร่

         * เมทัลดีไฮด์ 150 กรัมต่อไร่

         * สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่ 3 กิโลกรัมต่อไร่

        – ระดับน้ำในนาขณะใช้สารไม่เกิน 5 เซนติเมตร

 

 

ที่มา  http://www.brrd.in.th

วิธีการใส่ปุ๋ย

Published มกราคม 16, 2012 by nathpop

1.การใส่ปุ๋ยสำหรับพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสง เช่น พันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกได้ทุก
ฤดูกาล และเก็บเกี่ยวตามอายุการเจริญเติบโต ที่ปลูกในดินชนิดต่างๆ ดังนี้

1.1 ในดินที่เป็นดินเหนียว  ดินร่วนปนทราย มีการใส่ปุ๋ย ดังนี้
– ปุ๋ยรองพื้นก่อนปักดำ เลือกใช้ปุ๋ยอย่างนี้
ปุ๋ยสูตร 16-20-0 , 18-22-0 , 20-20-0 ใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
ในอัตราส่วน 1 : 1 ( ปริมาณรวม 50 กก / ไร่ )
– ปุ๋ยแต่งหน้า เลือกใช้ปุ๋ย ได้ดังนี้
ปุ๋ยสูตร 20-0-0 , 25-0-0 หรือ 46-0-0 ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
ในอัตราส่วน 1 : 1

1.2 ในดินนาที่เป็นดินทราย ดินร่วนทราย  มีการใส่ปุ๋ยดังนี้
– ปุ๋ยรองพื้นก่อนปักดำ เลือกใช้ปุ๋ยอย่างนี้
ปุ๋ยสูตร 16-20-0 , 18-22-0 , 20-20-0 ใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
ในอัตราส่วน 1 : 1
– ปุ๋ยแต่งหน้า เลือกใช้ปุ๋ย ได้ดังนี้
ปุ๋ยสูตร 20-0-0 , 25-0-0 หรือ 46-0-0 ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
ในอัตราส่วน 1 : 1

2.การใช้ปุ๋ยสำหรับพันธุ์ข้าวที่ไวต่อแสง ได้แก่ พันธุ์ข้าวที่ต้องปลูกเก็บเกี่ยว
ได้เฉพาะในฤดูนาปี

2.1 การใส่ปุ๋ยดินนาที่เป็นดินเหนียว  ดินร่วน  ดินร่วนปนดินเหนียว
– ปุ๋ยรองพื้นก่อนปักดำ เลือกใช้ปุ๋ยอย่างนี้
ปุ๋ยสูตร 16-20-0 , 18-22-0 , 20-20-0 ใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
ในอัตราส่วน 1 : 1 ( ปริมาณรวม 50 กก / ไร่ )
– ปุ๋ยแต่งหน้า เลือกใช้ปุ๋ย ได้ดังนี้
ปุ๋ยสูตร 20-0-0 , 25-0-0 หรือ 46-0-0 ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
ในอัตราส่วน 1 : 1  ( ปริมาณรวม 50 กก / ไร่ )

2.2 ในดินนาที่เป็นดินทราย  ดินร่วนทราย  ดินทรายร่วน
– ปุ๋ยรองพื้นก่อนปักดำ
ปุ๋ยสูตร 16-20-0 , 18-22-0 , 16-16-8  ใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
ในอัตราส่วน 1 : 1 ( ปริมาณรวม 50 กก / ไร่ )
– ปุ๋ยแต่งหน้า
ปุ๋ยสูตร 20-0-0 , 25-0-0 หรือ 46-0-0 ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
ในอัตราส่วน 1 : 1  ( ปริมาณรวม 50 กก / ไร่ )

ที่มา  http://fws.cc/hadaopitlok

การเก็บเกี่ยว

Published มกราคม 16, 2012 by nathpop

ภาพ:Tumna_8.jpg

หลังจากที่ข้าวออกดอกหรือออกรวงประมาณ 20 วัน ชาวนาจะเร่งระบายน้ำออก เพื่อเป็นการเร่งให้ข้าวสุกพร้อมๆ กัน และทำให้เมล็ดมีความชื้นไม่สูงเกินไป จะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากระบายน้ำออกประมาณ 10 วัน ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยว เรียกว่า ระยะพลับพลึง คือสังเกตที่ปลายรวงจะมีสีเหลือง กลางรวงเป็นสีตองอ่อน การเก็บเกี่ยวในระยะนี้จะได้เมล็ดข้าวที่มีความแข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และมีคุณภาพในการสี


ลงแขกเกี่ยวข้าว


มัดข้าวด้วยตอกหลังเกี่ยว

ที่มา http://www.panyathai.or.th

การเก็บรักษา

Published มกราคม 16, 2012 by nathpop

 การเก็บรักษา เมล็ดข้าวที่นวดฝัดทำความสะอาดแล้วควรตากให้มีความชื้นประมาณ 14% จึงนำเข้าเก็บในยุ้งฉาง ยุ้งฉางที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • อยู่ในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การใช้ลวดตาข่ายกั้นให้มีร่องระบายอากาศกลางยุ้งฉางจะช่วยให้การถ่ายเทอากาศดียิ่งขึ้น คุณภาพเมล็ดข้าวจะคงสภาพดีอยู่นาน
  • อยู่ใกล้บริเวณบ้านและติดถนน สามารถขนส่งได้สะดวก
  • เมล็ดข้าวที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ ต้องแยกจากเมล็ดข้าวบริโภค โดยอาจบรรจุกระสอบ มีป้ายบอกวันบรรจุ และชื่อพันธุ์แยกไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งในยุ้งฉาง เพื่อสะดวกในการขนย้ายไปปลูก
  • ก่อนนำข้าวเข้าเก็บรักษา ควรตรวจสภาพยุ้งฉางทุกครั้ง ทั้งเรื่องความะอาดและสภาพของยุ้งฉาง ซึ่งอาจมีร่องรอยของหนูกัดแทะจนทำให้นกสามารถรอดเข้าไปจิกกินข้าวได้ รูหรือร่องต่าง ๆ ที่ปิดไม่สนิทเหล่านี้ต้องได้รับการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน

ที่มา http://www.openbase.in.th

การเตรียมดิน

Published มกราคม 16, 2012 by nathpop

ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน

  • การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์
  • การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ ในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว
  • การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ

ที่มา  http://www.openbase.in.th

วิธีการปลูกข้าว

Published มกราคม 16, 2012 by nathpop

การทำนาโดยทั่วไปมี 3 วิธี  คือ  นาหว่าน  นาหยอด และนาดำ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่  เช่นที่สูง ที่ลุ่ม  ที่น้ำลึก  สภาพน้ำ
เช่น  เขตน้ำฝน  เขตชลประทาน  สภาพสังคม  เช่น  มีแรงงานหรือไม่มีแรงงาน  สภาพเศรษฐกิจ   เช่น  มีเงินทุนมากหรือน้อย
มีรายละเอียด  คือ  

                1.      นาหว่าน  ส่วนมากนิยม เนื่องจากขาดแคลนแรงงานสภาพน้ำจำกัด  ยากแก่การปักดำข้าว  หรือพื้นที่อยู่ในเขตน้ำฝนไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้  เป็นการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงไปในนาที่เตรียมดินไว้แล้ว มี 2 วิธี คือ (1) หว่านข้าวแห้งหรือหว่าน
สำรวย (2) หว่านข้าวตม หรือข้าวงอกหรือหว่านเพาะเลย

(1) การหว่านข้าวแห้ง   มักใช้วิธีนี้ในเขตนาน้ำฝนหรือในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำไม่ได้  โดยเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไม่ได้เพาะให้งอกเสียก่อน
เรียกอีกอย่าง คือ หว่านสำรวย เป็นการหว่านคอยฝนในสภาพดินแห้ง โดยหว่านหลังจากไถแปร  เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หว่าน
ไว้จะได้งอก  บางกรณีเพื่อป้องกันการทำลายของศัตรูข้าว จะมีการคราดกลบเมล็ดหลังการหว่าน  ซึ่งอาจเรียกว่าหว่านคราดกลบ

       

 

 อีกกรณีหนึ่งเป็นการหว่านในสภาพดินเปียก คือ มีฝนตกเมื่อไถแปรแล้ว ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามทันทีแล้วคราดกลบ  วิธีนี้เรียกว่า
หว่านหลังขี้ไถ การหว่านข้าวแห้งจะใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 10 – 15 กก.

(2)     การหว่านข้าวตม  หรือหว่านข้าวงอก  หรือหว่านเพาะเลย  เป็นการหว่านโดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีการเพาะให้งอกกล่าว คือ
แช่น้ำสะอาด  12 – 24 ชั่วโมง แล้วนำไปหุ้ม 30 – 48 ชม.  จนมีรากงอกยาวประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร  ที่เรียกว่า  ตุ่มตา  แล้วหว่านลง
ในพื้นที่นาที่เตรียมไว้อย่างดี  คือ  ไถดะ  ไถแปร  และทำเทือกจนราบเรียบ  วิธีนี้บางกรณีในเขตนาน้ำฝนควบคุมน้ำได้ยาก  จำเป็นต้อง
หว่านในเทือกที่มีน้ำขัง  แต่ในเขตชลประทาน ควรระบายน้ำให้เทือกนุ่มพอดี  สังเกตจากเมล็ดข้าวที่หว่านจะจมในเทือกประมาณครึ่งหนึ่ง
ของเมล็ดแนวนอนเมื่อข้าวงอกแล้วค่อยๆระบายน้ำเข้านา  แต่ไม่ให้ท่วมยอดต้นข้าว การหว่านน้ำตม ถ้าเตรียมดินดีวัชพืชน้อยใช้อัตราเมล็ด
พันธุ์ไร่ละ  10-15 กก. แต่ถ้าเตรียมดินไม่ดี มีวัชพืชมากในอัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ  15 – 20 กก.

                    

              2.      นาหยอด  นิยมในสภาพพื้นที่สูง  พื้นที่ไร่  หรือในสภาพนาที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ใช้เมล็ดข้าวแห้งที่ไม่ได้เพาะให้งอก  หยอดลงไปในหลุมที่เตรียมไว้โดยใช้จอบเสียม  หรือใช้ไม้กระทุ้ง  ตลอดจนใช้เครื่องหยอด หรืออีกวิธี โดยการโรยเป็นแถว  ในร่องที่ทำเตรียมไว้แล้วกลบดินฝังเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หยอดจะงอก ในสภาพไร่หรือที่สูง  อาจทำเป็นหลุมลึก 4-5 เซนติเมตร  หยอดเมล็ดข้าว
หลุมละ 5-6 เมล็ด  ส่วนในที่ราบสูง  เช่น  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถทำร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร  นาหยอดจะใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร
่ประมาณ 8-10 กก.

               

                  3.      นาดำ  เป็นวิธีการปลูกข้าว โดยแบ่งการปลูกเป็น 2 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตอนการตกกล้า (2) ขั้นตอนการปักดำ  ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปักดำน้อยลง เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ดี การปักดำ เป็นวิธีการปลูกข้าวที่สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่านาหว่าน

 

ที่มา http://www.thaigoodview.com/

พันธุ์และช่วงเวลาปลูกข้าว

Published มกราคม 15, 2012 by nathpop

พันธุ์ข้าวมี 2 ชนิด คือ

1. ชนิดไม่ไวแสง สามารถเพาะปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง มีอายุเก็บเกี่ยว 110 – 130 วัน ส่วนมากให้ผลผลิตต่อไร่
100 ถัง เนื่องจากตอบสนองต่อปุ๋ยดี ตัวอย่าง เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี1, สุพรรณบุรี2, ชัยนาท 1, กข. 23 ,เจ้าหอมคลองหลวง1 ,
และเจ้าหอมสุพรรณบุรี

ช่วงเวลาปลูกทำได้ตลอดปีขึ้นอยู่กับสภาพน้ำ แนะนำให้เขตชลประทานโดยวิธีการปักดำ หรือหว่านข้าวตมอย่างไรก็ดี ไม่แนะ
นำให้ปลูกติดต่อกันตลอดปีเป็นเวลานาน ควรปลูกคั่นด้วยพืชหมุนเวียนบ้างในบางฤดู จะช่วยตัดวงจรศัตรูพืชและรักษาสภาพดินที่
ใช้เพาะปลูกข้าว ให้คงความสมบูรณ์

2. ชนิดไวแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี มีวันเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าจะปลูกเมื่อใด ส่วนมากให้ผลผลิตไม่สูงมากเพราะ
ตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ตัวอย่าง เช่น พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 , กข.15 , ขาวตาแห้ง 17 , เหลืองประทิว 123 , และปิ่นแก้ว 56

ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมประมาณเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม โดยนับวันเก็บเกี่ยวย้อนขึ้นมาให้ข้าวมีอายุ 92-120 วัน
(ถ้าใช้วิธีหว่านอายุข้าวจะสั้นลง) ทั้งนี้ให้พิจารณาประกอบกับสภาพน้ำ ในเขตนาน้ำฝนอาจใช้วิธีหว่านข้าวแห้ง หรือปักดำ

ที่มา http://www.thaigoodview.com

ปัจจัยในการทำนา

Published มกราคม 10, 2012 by nathpop

สำหรับการทำนาในประเทศไทยมีปัจจัยหลัก 2 ประการ เป็นพื้นฐานของการทำนาและเป็นตัวกำหนดวิธีการปลูกข้าว และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทำนาด้วยหลัก 2 ประการ คือ

1. สภาพพื้นที่ ( ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำ ) และภูมิอากาศ
2. สภาพน้ำสำหรับการทำนา
ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรัง สามารถทำได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้

ที่่มา http://www.panyathai.or.th